Perfect Skin Perfect Skin Perfect Skin Perfect Skin Perfect Skin

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แอปเปิล-ทวิตเตอร์ คู่หูใหม่โลกไฮเทค?

ลือแอปเปิลเล็งลงทุนในทวิตเตอร์ ด้านนักวิเคราะห์มองเป็นไปได้สูง เหตุทั้งคู่มีสิ่งที่อีกฝ่ายต้องการ

news_img_464269_1

ในฐานะที่เป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ไม่กี่บริษัททีไม่มีบัญชีทวิตเตอร์ แอปเปิลอาจดูเหมือนเป็นทางเลือกสำหรับข่าวลือจับคู่กับทวิตเตอร์ แต่สิ่งที่สื่อในวงการเทคโนโลยีรับรู้กันอย่างเปิดเผย คือ การจับคู่กันในครั้งนี้ อาจจะเป็นพรหมลิขิต

หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทม์ส รายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงในว่า แอปเปิลกำลังพิจารณาการถือหุ้นในทวิตเตอร์ และลงทุนเชิงกลยุทธ์เป็นมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์ ส่วนหนังสือพิมพ์เดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล คุยกับแหล่งข่าววงในอีกคน ซึ่งระบุว่า มีการพูดคุยกันจริงแต่เป็นเมื่อ 1 ปีก่อน ล่าสุดรอยเตอร์ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าววงในเช่นเดียวกันว่า ทั้งแอปเปิลและทวิตเตอร์ไม่มีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ผู้ผลิตไอโฟน-ไอแพดจะเข้าไปถือหุ้นในเวบไซต์เครือข่ายสังคมยอดนิยมแต่อย่างใด

"ไม่ชัดเจนว่า 2 บริษัทเคยพูดคุยเกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวในอดีต และที่ระดับไหน แต่ปัจจุบันไม่มีการพูดคุยกันอย่างเป็นทางการระหว่าง 2 บริษัทไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลงทุน หรือเข้าซื้อกิจการ” แหล่งข่าวของรอยเตอร์ กล่าว

ภาพรวมเกี่ยวกับพันธสัญญาลับระหว่างแอปเปิลและทวิตเตอร์ ที่อาจจะยังอยู่ระหว่างพิจารณาที่สามารถวิเคราะห์ได้ตอนนี้ คือ ถ้ารายงานข่าวการรวมตัวกันเป็นจริง บางที่นี่อาจจะเป็นคู่ที่สวรรค์ส่งมาระหว่างสองพันธมิตรที่มีใจตรงกัน หรือบางทีทั้ง 2 บริษัทอาจกำลังจัดตั้งบริษัทด้วยกัน

ความเป็นได้แรก มองในแง่ดี บางทีแอปเปิลและทวิตเตอร์เป็นคู่แท้กัน เพราะทั้งคู่ให้ความสำคัญกับทันสมัยและความเรียบง่ายเหมือนกัน แอปเปิลมีสายผลิตภัณฑ์ตระกูลไอที่เจิดจรัส ขณะที่ทวิตเตอร์มีบริการข้อความไว้ระบายความคิดได้ 140 ตัวอักษร

นอกจากนี้ ทั้งสองบริษัทยังมีบางสิ่งบางอย่างให้กันและกัน แอปเปิลมีเงินสดมหาศาล (117,000 ล้านดอลลาร์)ขณะที่ทวิตเตอร์มีความเชี่ยวชาญเรื่องเครือข่ายสังคม ซึ่งแอปเปิลไม่สามารถเป็นได้

“แอปเปิลเป็นบริษัทที่บริษัทเราชื่นชอบ” ซีอีโอทวิตเตอร์ นายดิค คอสโตโล กล่าว

ทั้งนี้ ผู้ร่วมก่อตั้งทวิตเตอร์ นายแจ็ค ดอร์ซี่ ได้รับการคาดหมายว่า จะเป็นทายาทสืบทอดบัลลังก์ของสตีฟ จ๊อบส์
ในทำนองเดียวกัน ดูเหมือนว่าเป็นไปได้ที่แอปเปิลจะรวมทวิตเตอร์เข้ากับไอโอเอส 5 ระบบปฏิบัติการสำหรับไอโฟนที่เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว

ความพยายามของแอปเปิลในเรื่องเครือข่ายสังคม อาทิ ปิง (Ping) โปรแกรมเครือข่ายสังคมที่มุ่งเน้นเพลง ซึ่งแอปเปิลเปิดตัวไปเมื่อปี 2553 และ ไฟน์ เฟิร์นส บริการเครือข่ายสังคมที่อิงกับสถานที่นั้น ไม่ได้รับความนิยมมากนัก ทำให้แอปเปิลไม่มีบริการเครือข่ายทางสังคมที่แข็งแกร่ง

แต่อาจจะแย้งได้ว่า แอปเปิลร่วมมือกับทวิตเตอร์ก็เพราะไม่สามารถบรรลุข้อตกลงรวมไอโอเอส5 เข้ากับบริการเครือข่ายทางสังคม อย่าง เฟซบุ๊คได้ (แต่แอปเปิลจะรวมไอโอเอส6 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่เข้ากับเฟซบุ๊ค)

ขณะที่อีกหนึ่งความเป็นได้ของเรื่องราวความรักในครั้งนี้ ที่ทั้งทวิตเตอร์และแอปเปิล ในทางหนึ่งอาจจะเป็นเพียงบริษัทเดียวที่เหลืออยู่เพื่อกันและกันสำหรับการแต่งงานที่ยั่งยืน

เมื่อพิจารณาแบรนด์เทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภครายใหญ่ที่เต็มไปด้วยเงินสดที่ทวิตเตอร์อาจจะจับมือด้วย ไล่กันตั้งแต่ “โซเชียล” คู่แข่งเฟซบุ๊ค ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ เพราะทั้งโซเชียลและทวิตเตอร์เป็นปฏิปักษ์ของกันและกัน

ในทำนองเดียวกันกับที่ทวิตเตอร์ชนกับกูเกิลพลัสของกูเกิล ขณะที่ไมโครซอฟท์เองได้ลงทุนทางด้านเครือข่ายสังคมไปก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อทุ่มเงิน 240 ล้านดอลลาร์ซื้อหุ้นเฟซบุ๊คเมื่อปี 2550 นอกจากนี้ ยักษ์ใหญ่วงการซอฟต์แวร์รายนี้ยังได้ซื้อสไกป์เมื่อปีท่แล้ว รวมถึงแยมเมอร์ บริการเครือข่ายสังคมสำหรับองค์กรธุรกิจเมื่อต้นปี

ขณะเดียวกัน แอปเปิลเองก็มีศัตรูที่เป็นบริษัทเทคโนโลยีเช่นกัน ในบรรดาคู่ค้าในกลุ่มธุรกิจเครือข่ายสังคมที่พอจะเป็นไปได้ เฟซบุ๊คไม่พอใจ"เงื่อนไขที่ยุ่งยาก" ซึ่งแอปเปิลเรียกร้องสำหรับการเป็นหุ้นส่วนของปิง ส่วนกูเกิลพลัส ก็ลืมไปได้เลย เนื่องจากทั้งแอปเปิลและกูเกิลขับเคี่ยวกันอย่างหนักทั้งในตลาดสมาร์ทโฟน และฮาร์ดแวร์อื่นๆ (และในอนาคตมีแนวโน้มจะแข่งกันตลาดค้นหาและแสดงผลด้วย)

แต่ไม่ว่าจะเชื่อในรักแรกพบ หรือคิดว่าการแต่งงานเพื่อความสะดวกสบายจะยืนยาว คู่ของแอปเปิลและทวิตเตอร์ก็มีความเป็นได้ระดับหนึ่ง ทั้งสองบริษัทจะลงทุนร่วมกันได้หรือไม่? มีเพียงเวลาเท่านั้นที่จะบอกได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น