ฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยเฉพาะพวกที่ไม่ใช่ SSD (Solid State Disk) แผ่นจานแม่เหล็กของพวกมันจะหมุนอยู่ในอากาศปกติ หัวอ่าน/เขียนจะลอยอยู่เหนือแผ่นจานแม่เหล็กเล็กน้อย แต่ด้วยการหมุนของจานแม่เหล็กที่แรง และเร็วมากก็ทำให้หัวอ่านต้องเผชิญกับแรงลมหมุนทุกครั้งทีมีการอ่านเขียนข้อมูล เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ Western Digital ปิ๊งไอเดียที่จะแทนอากาศที่อยู่ภายในด้วยก๊าซฮีเลียม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับฮาร์ดดิสก์
ฮีเลี่ยม (Helium) จะมีความหนาแน่นแค่ 1 ใน 7 ของอากาศปกติเท่านั้น ซึ่งนั่นหมายความว่า แรงเสียดทานระหว่างก๊าซฮีเลียมกับจานดิสก์ขณะหมุนจะลดลง หรือพูดง่ายๆ ก็คือ จานดิสก์จะหมุนได้เร็วขึ้น ในขณะเดียวกัน หัวอ่าน/เขียนข้อมูลก็จะได้อานิสงส์จากการทำงานภายใต้ก๊าซฮีเลียมที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศตามไปด้วย โดยมันสามารถเคลื่อนที่ได้เร็ว และไม่ต้องเผชิญกับแรงลมหมุนของจานดิสก์มากเท่าทีเคย อย่างไรก็ตาม หากเจาะลงไปที่ข้อได้เปรียบจากการอัดก๊าซฮีเลี่ยมเข้าไปในฮาร์ดดิสก์แทนอากาศปกติมีดังนี้
- จานดิสก์สามารถทำให้บางลงกว่าเดิมได้อีก (ไม่ต้องหนา เพราะต้องหมุนภายใต้แรงเสียดทานของอากาศที่มีความหนาแน่นมากกว่าฮีเลียม) นั่นหมายความว่า ฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่จะสามารถมีน้ำหนักเบากว่าเดิมได้ถึง 29% ต่อความจุ 1TB หรือสามารถทำฮาร์ดดิสก์ฮีเลี่ยมที่ใส่จานดิสก์ได้ 7 แผ่นในขณะที่น้ำหนักเท่ากับฮาร์ดดิสก์ทั่วไปที่มีจาน 5 แผ่น
- จานที่เบากว่าเดิมทำให้ใช้พลังงานในการหมุนน้อยลงกว่าเดิมได้ถึง 23% ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์ไม่ได้ทำงาน ฮาร์ดดิสก์ขนาดจานดิสก์ 5 แผ่นจะใช้พลังงาน 7 วัตต์ ในขณะที่ฮาร์ดดิสก์ฮีเลียมที่มีจานดิสก์ 7 แผ่นจะใช้พลังงานมากกว่า 5 วัตต์เล็กน้อย
- ราคาของฮาร์ดดิสก์ฮีเลี่ยม (ที่มาพร้อมกับจานดิสก์ 7 แผ่น) ขนาด 3.5 นิ้วจะถูกกว่าฮาร์ดดิสก์ทั่วไปขนาด 2.5 นิ้ว จานดิสก์ 4 จาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น